หน้าเว็บ

มหาสมัยสูตร



บทขัดมหาสมยสูตร 
ทุลละภังทัสสะนังยัสสะ สัมพุทธัสสะ อะภิณ๎หะโส
โลกัมหิอันธะภูตัส๎มิง ทุลละภุปปาทะสัตถุโน ฯ
สักเกสุ กะปิละวัตถุส๎มิง วิหะรันตัง มะหาวะเน
ตันทัสสะนายะสัมพุทธัง ภิกขุสังฆัญจะ นิมมะลัง
ทะสะธาสังคะเณยยาสุ โลกะธาตูสุ เทวะตา
อะเนกาอัปปะเมยยาวะ โมทะมานา สะมาคะตา
ตาสังปิยังมะนาปัญจะ จิตตัสโสทัคคิยาวะหัง
ยังโสเทเสสิสัมพุทโธ หาสะยันโตติ เม สุตัง
เทวะกายัปปะหาสัตถังตัง สุตตันตัง ภะณามะ เส ฯ
บทสวด มหาสมัยสูตร
( นำ) หันทะ มะยัง มะหาสะมะยะสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ
เอวัมเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสมิง
มะหาวะเน มะหะตาภิกขุสังเฆนะ สัทธิง ปัญจะมะเตหิ ภิกขุสะเตหิ
สัพเพเหวะอะระหันเตหิ. ทะสะหิ จะ โลกะธาตูหิ เทวะตา เยภุยเยนะ
สันนิปะติตา โหนติภะคะวันตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ. อะถะโข
จะตุนนัง สุทธาวาสะกายิกานังเทวานัง เอตะทะโหสิ. อะยังโข ภะคะวา
สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสมิง มะหาวะเนมะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง
ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ สัพเพเหวะ อะระหันเตหิทะสะหิ จะ โลกะธาตูหิ
เทวะตา เยภุยเยนะ สันนิปะติตา โหนติ ภะคะวันตัง ทัสสะนายะภิกขุสังฆัญจะ
ยันนูนะ มะยัมปิ เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะเมยยามะ อุปะสังกะมิตวา
ภะคะวะโต สันติเก ปัจเจกะคาถา ภาเสยยามาติ.

อะถะโข ตา เทวะตา เสยยะถาปินามะ พะละวา ปุริโส สัมมิญชิตัง วา
พาหัง ปะสาเรยยะ ปาสาริตัง วา พาหังสัมมิญเชยยะ เอวะเมวะ สุทธาวาเสสุ
เทเวสุ อันตะระหิตา ภะคะวะโต ปุระโตปาตุระหังสุ. อะถะโข ตา
เทวะตา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐังสุ.เอกะมันตัง
ฐิตา โข เอกา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ

มะหาสะมะโยปะวะนัสมิง เทวะกายา สะมาคะตา อาคะตัมหะ อิมัง
ธัมมะสะมะยัง ทักขิตาเยวะ อะปะราชิตะสังฆันติ. อะถะโข อะปะรา
เทวะตาภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ. ตัตระ ภิกขะโว
สะมาทะหังสุ จิตตังอัตตะโน อุชุกะมะกังสุ สาระถีวะ เนตตานิ คะเหตวา
อินทริยานิ รักขันติ ปัณฑิตาติ.อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต
สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ. เฉตวา ขีลัง เฉตวาปะลีฆัง อินทะขีลัง
โอหัจจะมะเนชา เต จะรันติ สุทธา วิมะลา จักขุมะตา สุทันตาสุสู นาคาติ
อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ.

เย เกจิ พุทธัง สะระณังคะตา เส นะ เต คะมิสสันติ อะปายะภูมิง ปะหายะ
มานุสัง เทหัง เทวะกายัง ปะริปูเรสสันตีติ.
อะถะโข ภะคะวา ภิกขูอามันเตสิ เยภุยเยนะ ภิกขะเว ทะสะสุ โลกะธาตูสุเทวะตา
สันนิปะติตา ตะถาคะตังทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ เยปิ เต ภิกขะเวอะเหสุง
อะตีตะมัทธานัง อะระหันโตสัมมาสัมพุทธา เตสัมปิ ภะคะวันตานังเอตะปะระมาเยวะ
เทวะตา สันนิปะติตา อะเหสุง.เสยยะถาปิ มัยหัง เอตะระหิ เยปิ เต ภิกขะเว ภะวิสสันติ.

อะนาคะตะมัทธานังอะระหันโต สัมมาสัมพุทธา, เตสัมปิ ภะคะวันตานัง
เอตะปะระมาเยวะ เทวะตาสันนิปะติตา ภะวิสสันติ. เสยยะถาปิ มัยหัง
เอตะระหิ อาจิกขิสสามิ ภิกขะเวเทวะกายานัง นามานิ.

กิตตะยิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ เทสิสสามิภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ.
ตัง สุณาถะ สาธุกัง มะนะสิกะโรถะ ภาสิสสามีติ.เอวัมภันเตติ โข เต ภิกขู ภะคะวะโต
ปัจจัสโสสุง. ภะคะวาเอตะทะโวจะ.

สิโลกะมะนุสกัสสามิ
ยัตถะ ภุมมา ตะทัสสิตาเย สิตา คิริคัพภะรัง
ปะหิตัตตา สะมาหิตา ปุถู สีหาวะสัลลีนา
โลมะหังหาภิสัมภิโน โอทาตะมะนะสา สุทธา
วิปปะสันนะมะนาวิลาภิยโย ปัญจะสะเต ญัตวา
วะเน กาปิละวัตถะเว ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเกสาสะเน ระเต เทวะกายา อะภิกกันตา
เต วิชานาถะ ภิกขะเว เตจะอาตัปปะมะกะรุง
สัตวา พุทธัสสะ สาสะนัง เตสัมปาตุระหุญาณัง
อะมะนุสสานะ ทัสสะนัง อัปเปเก สะตะมัททักขุง
สะหัสสัง อะถะ สัตตะริง สะตัง เอเก สะหัสสานัง
อะมะนุสสานะมัททะสุง อัปเปเกนันตะมัททักขุง
ทิสา สัพพา ผุฏา อะหุง ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ
วะวักขิตวานะ จักขุมา ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเก สาสะเน ระเต เทวะกายา อะภิกกันตา
เตวิชานาถะ ภิกขะโว เย โวหัง กิตตะยิสสามิ
คิราหิอะนุปุพพะโส
สัตตะสะหัสสา วะยักขา
ภุมมา กาปิละวัตถะวาอิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโนโมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
ฉะสะหัสสาเหมะวะตา
ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
สาตาคิรา ติสะหัสสา
ยักขา นานัตตะวัณณิโนอิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
อิจเจเต โสฬะสะสะหัสสา
ยักขานานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโตยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติงวะนัง.
เวสสามิตตา ปัญจะสะตา
ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโตชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานาอะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.

กุมภิโรราชะคะหิโก
เวปุลลัสสะ นิเวสะนัง ภิยโย นังสะตะสะหัสสัง
ยักขานัง ปะยิรุปาสะติ กุมภิโร ราชะคะหิโก
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.
ปุริมัณจะ ทิสัง ราชา
ธะตะรัฏโฐ ปะสาสติ คันธัพพานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนังสะมิติง วะนัง.

ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา
วิรุฬโหตัปปะสาสะติ กุมภัณฑานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โสปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโตชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานาอะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
ปัจฉิมัญจะ ทิสังราชา
วิรูปักโข ปะสาสติ นาคานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนังสะมิติง วะนัง.
อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา
กุเวโร ตัปปะสาสะติยักขานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โสปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโตชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานาอะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.

ปุริมะทิสังธะตะรัฏโฐ
ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข
กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง. จัตตาโร เต มะหาราชา
สะมันตา จะตุโร ทิสา ทัททัลละมานา อัฏฐังสุ
วะเน กาปิละวัตถะเว. เตสัง มายาวิโน ทาสา
ยาคู วัญจะนิกา สะฐา มายา กุเฎณฑุ เวเฏณฑุ
วิฏู จะ วิฏุโต สะหะ จันทะโน กามะเสฏโฐ จะ
กินนุฆัณฑุ นิฆัณฑุ จะ ปะนาโท โอปะมัญโญ จะ
เทวะสูโต จะ มาตะลิ จิตตะเสโน จะ คันธัพโฑ
นะโฬราชา ชะโนสะโภ อาคู ปัญจะสิโข เจวะ
ติมพะรู สุริยะวัจฉะสา เอเต จัญเญ จะ ราชาโน
คันธัพพา สะหะ ราชุภิ โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิตัง วินัง.

อะถาคู นาภะสา นาคา
เวสาลา สะหะตัจฉะกา กัมพะลัสสะตะรา อาคู
ปายาคาสะหะ ญาติภิ. ยามุนา ธะตะรัฏฐา จะ
อาคู นาคา ยะสัสสิโนเอราวัณโณ มะหานาโค
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.

เย นาคะราเชสะหะสา หะรันติ ทิพพา ทิชา ปักขิ วิสุทธะจักขู เวหายะสา เต
วะนะมัชฌะปัตตาจิตรา สุปัณณา อิติ เตสะ นามัง อะภะยันตะทา
นาคะราชานะมาสิ สุปัณณะโตเขมะมะกาสิ พุทโธ สัณหาหิ วาจาหิ
อุปะวะหะยันตา นาคา สุปัณณา สะระณะมะกังสุพุทธัง.

ชิตา วะชิระหัตเถนะ
สะมุททัง อะสุรา สิตา ภาตะโร วาสะวัสเสเต
อิทธิมันโต ยะสัสสิโน กาละกัญชา มะหาภิสมา
อะสุรา ทานะเวฆะสา เวปะจิตติ สุจิตติ จะ
ปะหาราโท นะมุจี สะหะ สะตัญจะ พะลิปุตตานัง
สัพเพ เวโรจะนามะกา สันนัยหิตวา พะลิง เสนัง
ราหุภัททะมุปาคะมุง สะมะโยทานิ ภัททันเต
ภิกขุนัง สะมิติง วินัง.

อาโป จะ เทวา ปะฐะวี จะ เตโช วาโย ตะทาคะมุง
วะรุณา วารุณา เทวา โสโมจะ ยะสะสา สะหะ
เมตตากะรุณากายิกา อาคู เทวา ยะสัสสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
เวณฑู จะ เทวา สะหะลี จะอะสะมา จะ ทุเว ยะมา จันทัสสูปะนิสาเทวา
จันทะมาคู ปุรักขิตา สุริยัสสูปะนิสา เทวา
สุริยะมาคู ปุรักขิตา นักขัตตานิ ปุรักขิตวา
อาคู มันทะพะลาหะกา วะสูนัง วาสะโว เสฏโฐ
สักโก ปาคะ ปุรินทะโท ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
อะถาคู สะหะภู เทวา ชะละมัคคิสิขาริวะ อะริฏฐะกา จะ โรชา จะ
อุมมา ปุปผะนิภาสิโน วะรุณา สะหะธัมมา จะ
อัจจุตา จะ อะเนชะกา สุเลยยะรุจิรา อาคูอาคู วาสะวะเนสิโนทะเสเต
ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุงภิกขูนัง สะมิติงวินัง.

สะมานา มะหาสะมานา
มานุสามานุสุตตะมา ขิฑฑาปะทูสิกา อาคู
อาคูมะโนปะทูสิกา อะถาคู หะระโย เทวา
เย จะโลหิตะวาสิโน ปาระคา มะหาปาระคา
อาคู เทวายะสัสสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพนานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.

สุกกา กะรุมหา อะรุณา
อาคู เวฆะนะสา สะหะ โอทาตะคัยหา ปาโมกขา
อาคู เทวา วิจักขะณา สะทามัตตา หาระคะชา
มิสสะกา จะ ยะสัสสิโน ถะนะยัง อาคา ปะชุนโน
โย ทิสา อะภิวัสสะติ ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.

เขมิยา ตุสิตา ยามา
กัฏฐะกา จะ ยะสัสสิโน ลัมพิตะกา ลามะเสฏฐา
โชติมานา จะ อาสะวา นิมมานะระติโน อาคู
อะถาคู ปะระนิมมิตา ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานาอะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.

สัฏเฐเต เทวะนิกายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน นามันวะเยนะ อาคัญฉุง
เย จัญเญ สะทิสา สะหะ ปะวุตถะชาติมักขีลัง
โอฆะติณณะมะนาสะวัง ทักเข โมฆะตะรัง นาคัง
จันทังวะ อะสิตาสิตัง สุพรัหมา ปะระมัตโต จะ
ปุตตา อิทธิมะโต สะหะ สันนังกุมาโร ติสโส จะ
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.

สะหัสสะพรัหมะโลกานัง
มะหาพรัหมาภิติฏฐะติ อุปะปันโน ชุติมันโต
ภิสมากาโย ยะสัสสิ โส. ทะเสตถะ อิสสะรา อาคู
ปัจเจกะวะสะวัตติโน เตสัญจะ มัชธะโต อาคา
หาริโต ปะริวาริโต. เต จะ สัพเพ อะภิกกันเต
สินเท เทเว สะพรัหมะเก มาระเสนา อะภิกกามิ
ปัสสะ กัณหัสสะ มันทิยัง เอถะ คัณหะถะ พันธะถะ
ราเคนะ พันธมัตถุ โว สะมันตา ปะริวาเรถะ
มา โว มุญจิตถะ โกจิ นัง. อิติ ตัตถะ มะหาเสโน
กัณหะเสนัง อะเปสะยิ ปาณินา ตะละมาหัจจะ
สะรัง กัตวานะ เภระวัง. ยะถา ปาวุสสะโก เมโฆ
ถะนะยันโต สะวิชชุโก ตะทา โส ปัจจุมาวัตติ
สังกุทโธ อะสะยังวะเส. ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ
วิวักขิตวานะ จักจุมา ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเก สาสะเน ระเต มาระเสนา อะภิกกันตา
เต วิชานาถะ ภิกขะโว.

เต จะ อาตัปปะมะกะรุง
สุตวา พุทธัสสะ สาสะนัง วีตะราเคหิ ปักกามุง
เนสัง โลมัมปิ อิญชะยุง. สัพเพ วิชิตะสังคามา
ภะยาตีตา ยะสัสสิโน โมทันติ สะหะ ภูเตหิ
สาวะกา เต ชะเนสุตาติ.
มะหาสะมะยะสุตตัง นิฏฐิตัง.

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค - ๗. มหาสมัยสูตร
[พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]
มหาสมัยสูตร (แปล)

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกะ ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วน เป็นพระอรหันต์ ก็พวกเทวดาจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก เพื่อทัศนา พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ ฯ

ครั้งนั้น เทวดาชั้นสุทธาวาส ๔ องค์ ได้มีความดำริว่า
พระผู้มีพระภาค พระองค์นี้แล ประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ ก็พวก เทวดาจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก เพื่อทัศนาพระผู้มีพระภาคและภิกษุ สงฆ์ ไฉนหนอ แม้พวกเราก็ควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว พึงกล่าวคาถาเฉพาะองค์ละคาถา ในสำนักพระผู้มีพระภาค

ลำดับนั้น เทวดา พวกนั้น หายไป ณ เทวโลกชั้นสุทธาวาสแล้วมาปรากฏเบื้องพระพักตร์พระผู้ มี พระภาค เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออก หรือคู้แขนที่เหยียดออกเข้า ฉะนั้น เทวดาพวกนั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง เทวดาองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ว่า


การประชุมใหญ่ในป่าใหญ่ หมู่เทวดามาประชุมกันแล้วพวกเรา พากันมาสู่ธรรมสมัยนี้ เพื่อได้เห็นหมู่ท่านผู้ชนะมาร ฯ

ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มี พระภาคว่าภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้น มั่นคง กระทำจิตของตนๆ ให้ ตรง บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมรักษาอินทรีย์ เหมือนสารถีถือบังเหียนขับม้า ฉะนั้น ฯ

ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนัก พระผู้มีพระภาคว่า
ภิกษุเหล่านั้น ตัดกิเลสดุจตะปู ตัดกิเลสดุจลิ่มสลัก ถอน กิเลสดุจเสาเขื่อนได้แล้ว เป็นผู้ไม่หวั่นไหว หมดจด ปราศ จากมลทิน เที่ยวไป ท่านเป็นหมู่นาคหนุ่ม อันพระผู้มีพระภาค ผู้มีจักษุทรงฝึกดีแล้ว ฯ

ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนัก พระผู้มีพระภาคว่า
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าว่า เป็นสรณะ เขาจัก ไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์แล้ว จักยังเทวกายให้บริบูรณ์ ฯ
ชื่อของหมู่เทวดา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกเทวดาในโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก เพื่อทัศนา ตถาคตและภิกษุสงฆ์ พวกเทวดาประมาณเท่านี้แหละได้ประชุมกัน เพื่อทัศนา พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้มีแล้วในอดีตกาล เหมือนที่ ประชุมกันเพื่อทัศนาเราในบัดนี้ พวกเทวดาประมาณเท่านี้แหละ
จักประชุมกันเพื่อ ทัศนาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจักมีในอนาคตกาล เหมือนที่ประชุมกัน
เพื่อทัศนาเราในบัดนี้ เราจักบอกนามพวกเทวดา เราจักระบุนามพวกเทวดา เราจักแสดงนาม พวกเทวดา พวกเธอจงฟังเรื่องนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา จักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส พระคาถานี้ว่า

เราจักร้อยกรองโศลก ภุมมเทวดาอาศัยอยู่ ณ ที่ใด พวกภิกษุก็ อาศัยที่นั้น ภิกษุพวกใดอาศัยซอกเขา ส่งตนไปแล้ว มีจิตตั้งมั่น ภิกษุพวกนั้น เป็นอันมาก เร้นอยู่ เหมือนราชสีห์ ครอบงำความขนพองสยองเกล้าเสียได้ มีใจผุดผ่อง เป็นผู้ หมดจด ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว พระศาสดาทรงทราบภิกษุประมาณ ๕๐๐ เศษ ที่อยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์

แต่นั้นจึงตรัสเรียกสาวกผู้ยินดีในพระศาสนา ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่เทวดามุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทวดานั้น ภิกษุเหล่านั้นสดับรับสั่งของพระพุทธเจ้าแล้ว ได้ กระทำความเพียร ญาณเป็นเครื่องเห็นพวกอมนุษย์ ได้ปรากฏแก่ ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวก ได้เห็นอมนุษย์ร้อยหนึ่ง บางพวก ได้เห็นอมนุษย์พันหนึ่ง บางพวกได้เห็นอมนุษย์เจ็ดหมื่น บาง พวกได้เห็นอมนุษย์หนึ่งแสน บางพวกได้เห็นไม่มีที่สุด อมนุษย์ได้แผ่ไปทั่วทิศ พระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงใคร่ครวญ
ทราบเหตุนั้นสิ้นแล้ว แต่นั้น จึงตรัสเรียกสาวกผู้ยินดีใน พระศาสนาตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่เทวดามุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทวดานั้น เราจักบอกพวกเธอด้วยวาจา ตามลำดับ ยักษ์เจ็ดพันเป็นภุมมเทวดาอาศัยอยู่ในพระนคร กบิลพัสดุ์ มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศยินดี มุ่งมายัง ป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ยักษ์หกพันอยู่ที่เขาเหมวตามี รัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ยักษ์สามพันอยู่ที่เขา สาตาคีรี มีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ
ยักษ์เหล่านั้นรวม เป็นหนึ่งหมื่นหกพัน มีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพมีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ยักษ์ ห้าร้อยอยู่ที่เขาเวสสามิตตะ มีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มี อานุภาพ มีรัศมี มียศยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุม ของภิกษุ ยักษ์ชื่อกุมภีระอยู่ในพระนครราชคฤห์ เขาเวปุลละ เป็นที่อยู่ของยักษ์นั้น ยักษ์แสนเศษแวดล้อมยักษ์ชื่อกุมภีระ นั้น ยักษ์ชื่อกุมภีระอยู่ในพระนครราชคฤห์แม้นั้น ก็ได้มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ฯ

ท้าวธตรัฏฐอยู่ด้านทิศบูรพา ปกครองทิศนั้นเป็นอธิบดีของพวกคนธรรพ์ เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก มีนามว่า อินท มีกำลังมากมีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

ท้าววิรุฬหก อยู่ด้านทิศทักษิณ ปกครองทิศนั้นเป็นอธิบดีของพวกกุมภัณฑ์ เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก มีนามว่า อินทมีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายัง ป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

ท้าววิรูปักษ์อยู่ด้านทิศปัจจิม ปก ครองทิศนั้นเป็นอธิบดีของพวกนาค เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก มีนามว่า อินท มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มี อานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

ท้าวกุเวร อยู่ด้านทิศอุดร ปกครองทิศนั้นเป็นอธิบดีของพวก ยักษ์ เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มากมีนามว่าอินท มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ท้าวธตรัฏฐเป็นใหญ่ทิศ บูรพา ท้าววิรุฬหก เป็นใหญ่ทิศทักษิณ ท้าววิรูปักษ์เป็นใหญ่ ทิศปัจจิม ท้าวกุเวรเป็นใหญ่ทิศอุดร ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น ยังทิศทั้ง ๔ โดยรอบให้รุ่งเรืองได้ยืนอยู่แล้วในป่าเขตพระ นครกบิลพัสดุ์ ฯ
ท้าวโลกบาลทั้ง ๔
พวกบ่าวของท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น มีมายา ล่อลวง โอ้อวด เจ้าเล่ห์ มา ด้วยกัน มีชื่อคือกุเฏณฑุ ๑ เวเฏณฑุ ๑ วิฏ ๑ วิฏฏะ ๑ จันทนะ ๑ กามเสฏฐะ ๑ กินนุฆัณฑุ ๑ นิฆัณฑุ ๑ และท้าวเทวราชทั้งหลายผู้มีนาม ว่าปนาทะ ๑ โอป มัญญะ ๑ เทพสารถีมีนามว่า มาตลิ ๑ จิตตเสนะ ผู้คนธรรพ์ ๑ นโฬราชะ ๑ ชโนสภะ ๑ ปัญจสิขะ ๑ ติมพรู ๑ สุริยวัจฉสา เทพธิดา ๑ มาทั้งนั้น ราชาและคนธรรพ์พวกนั้น และพวกอื่น กับเทวราชทั้งหลายยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุอนึ่งเหล่านาคท ี่อยู่ใน สระชื่อนภสะบ้าง อยู่ในเมืองเวสาลีบ้าง พร้อมด้วยนาคบริษัทเหล่าตัจฉกะ กัมพลนาค และอัสสตรนาคก็มา นาคผู้อยู่ในท่า ชื่อปายาคะ กับญาติ ก็มา นาคผู้อยู่ใน แม่น้ำยมุนา เกิดในสกุลธตรัฏฐ ผู้มียศ ก็มาเอราวัณเทพบุตรผู้เป็นช้างใหญ่ แม้นั้นก็มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ฯ

ปักษีทวิชาติผู้เป็นทิพย์ มีนัยน์ตาบริสุทธิ์ นำนาคราชไปได้ โดยพลันนั้น มาโดยทางอากาศถึงท่ามกลางป่า ชื่อของปักษีนั้นว่า จิตรสุบรรณ ในเวลานั้น นาคราชทั้งหลาย ไม่ได้มีความ กลัวพระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำให้ปลอดภัยจากครุฑ นาคกับ ครุฑเจรจากัน ด้วยวาจาอันไพเราะ กระทำพระพุทธเจ้าให้เป็นสรณะ พวกอสูรอาศัยสมุทรอยู่ อันท้าววชิรหันถ์รบชนะแล้ว เป็นพี่น้องของท้าววาสพ มีฤทธิ์ มียศ เหล่านี้คือพวก กาลกัญชอสูร มีกายใหญ่น่ากลัวก็มา พวกทานเวฆสอสูรก็มา เวปจิตติอสูรสุจิตติอสูร ปหาราทอสูร และนมุจีพระยามารก็มาด้วยกัน บุตรของพลิอสูรหนึ่งร้อย มีชื่อว่าไพโรจน์ทั้งหมดผูกสอดเครื่องเสนาอันมีกำลัง เข้าไปใกล้อสุรินทราหู แล้วกล่าว ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ บัดนี้ เป็นสมัยที่จะประชุมกัน ดังนี้แล้ว เข้าไปยังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ฯ
เทวนิกาย
ในเวลานั้น เทวดาทั้งหลาย ชื่ออาโป ชื่อปฐวี ชื่อเตโช ชื่อวาโย ได้พากันมาแล้ว เทวดา ชื่อวรุณะ ชื่อวารุณะ ชื่อโสมะ ชื่อยสสะ ก็มาด้วยกัน เทวดาผู้บังเกิดในหมู่เทวดาด้วยเมตตาและกรุณาฌาน เป็นผู้มียศ ก็มา หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุม ของภิกษุ เทวดา ชื่อเวณฑู ชื่อสหลี ชื่ออสมา ชื่อยมะ ทั้งสองพวก ก็มา เทวดาผู้อาศัยพระจันทร์ กระทำพระจันทร์ไว้ในเบื้องหน้าก็มา

เทวดาผู้อาศัยพระอาทิตย์ กระทำพระอาทิตย์ไว้ในเบื้องหน้าก็มา เทวดากระทำนักษัตรไว้ใน เบื้องหน้าก็มา มันทพลาหกเทวดาก็มา แม้ท้าวสักกปุรินททวาสวะ ซึ่งประเสริฐกว่าสุเทวดาทั้งหลายก็เสด็จมา
หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์มีอานุภาพมีรัศมี ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ อนึ่งเทวดาชื่อสหภูผู้รุ่งเรืองดุจเปลวไฟก็มา เทวดาชื่ออริฏฐกะ ชื่อโรชะ มีรัศมีดังสีดอกผักตบก็มา เทวดาชื่อวรุณะ ชื่อสหธรรมชื่ออัจจุตะ ชื่ออเนชกะ ชื่อสุเลยยะ ชื่อรุจิระก็มา เทวดา ชื่อวาสวเนสีก็มา
หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมด ล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมีมียศ ยินดี มุ่ง มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ เทวดาชื่อสมานะ ชื่อ มหาสมานะ ชื่อมานุสะ ชื่อมานุสุตตมะ ชื่อขิฑฑาปทูสิกะ ก็มา เทวดาชื่อมโนปทูสิกะก็มา อนึ่ง เทวดาชื่อหริ เทวดาชื่อโลหิต วาสี ชื่อปารคะ ชื่อมหาปารคะ ผู้มียศ ก็มา
หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวกทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ เทวดา ชื่อสุกกะ ชื่อกรุมหะ ชื่ออรุณะ ชื่อเวฆนสะก็มาด้วยกันเทวดาชื่อโอทาตคัยหะ ผู้เป็นหัวหน้า เทวดาชื่อวิจักขณะ ก็มา เทวดาชื่อสทามัตตะ ชื่อหารคชะ และชื่อมิสสกะ ผู้มียศ ก็มา ปชุนนเทวบุตร ซึ่งคำรามให้ฝนตกทั่วทิศก็มา

หมู่เทวดา๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุเทวดาชื่อเขมิย ะ เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นยามะ และเทวดาชื่อกัฏฐกะ มียศ เทวดาชื่อลัมพิตกะ ชื่อลามเสฏฐะ ชื่อโชตินามะ ชื่ออาสา และเทวดาชั้นนิมมานรดีก็มา อนึ่ง เทวดาชั้นปรนิมมิตะก็มา

หมู่เทวดา ๑๐เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ หมู่เทวดา ๖๐เหล่านี้ ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มาแล้วโดยกำหนดชื่อ และ เทวดาเหล่าอื่นผู้เช่นกัน มาพร้อมกันด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจัก เห็นพระนาคผู้ปราศจากชาติ ไม่มีกิเลสดุจตะปู มีโอฆะอัน ข้ามแล้ว ไม่มีอาสวะข้ามพ้นโอฆะ ผู้ล่วงความยึดถือได้แล้ว ดุจพระจันทร์พ้นจากเมฆฉะนั้น. ฯ
พรหมนิกาย
สุพรหมและปรมัตตพรหม ซึ่งเป็นบุตรของพระพุทธเจ้าผู้มี ฤทธิ์ ก็มาด้วย สนังกุมารพรหม และติสสพรหมแม้นั้น ก็มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ท้าวมหาพรหมย่อมปกครอง พรหมโลกพันหนึ่ง ท้าวมหาพรหมนั้นบังเกิดแล้วในพรหมโลก มีอานุภาพ มีกายใหญ่โต มียศ ก็มา

พรหม๑๐ พวก ผู้เป็น อิสระในพวกพรหมพันหนึ่ง มีอำนาจเป็นไปเฉพาะองค์ละอย่างก็มา มหาพรหมชื่อหาริตะ อันบริวารแวดล้อมแล้ว มาในท่ามกลางพรหมเหล่านั้น มารเสนา ได้เห็นพวกเทวดา พร้อมทั้ง พระอินทร์ พระพรหมทั้งหมดนั้น ผู้มุ่งมา ก็มาด้วย แล้วกล่าวว่าท่านจงดูความเขลาของมาร พระยามารกล่าวว่า พวกท่านจงมาจับ เทวดาเหล่านี้ผูกไว้ ความผูกด้วยราคะ จงมีแก่ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงล้อมไว้โดยรอบ อย่าปล่อยใครๆ ไป พระยามารบัง คับเสนามารในที่ประชุมนั้นดังนี้แล้ว เอาฝ่ามือตบแผ่นดิน กระทำเสียงน่ากลัว เหมือนเมฆยังฝนให้ตก คำรามอยู่ พร้อมทั้ง ฟ้าแลบ ฉะนั้น เวลานั้น พระยามารนั้นไม่อาจยังใครให้เป็นไป ในอำนาจได้ โกรธจัด กลับไปแล้ว พระศาสดาผู้มีพระจักษุทร พิจารณาทราบเหตุนั้นทั้งหมด แต่นั้น จึงตรัสเรียกสาวกผู้ ยินดีในพระศาสนาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารเสนามาแล้ว พวกเธอจงรู้จักเขา
ภิกษุเหล่านั้นสดับพระดำรัสสอนของพระ พุทธเจ้าแล้ว ได้กระทำความเพียร มารและเสนามารหลีกไป จากภิกษุผู้ปราศจากราคะ ไม่ยังแม้ขนของท่านให้ไหว (พระยามารกล่าวสรรเสริญว่า) พวกสาวกของพระองค์ทั้งหมดชนะ สงครามแล้ว ล่วงความกลัวได้แล้ว มียศปรากฏในหมู่ชนบันเทิงอยู่กับด้วยพระอริยเจ้า ผู้เกิดแล้วในพระศาสนา ดังนี้แล. ฯ

จบมหาสมัยสูตร ที่ ๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น