หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ยินดีต้อนรับ


ค้นหาหนังสือ

จิต วิญญาณ มโน - สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช





ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์แห่งการศึกษาหาและหาข้อมูลธรรมะเพื่อการเผยแผ่ธรรม
ของข้าพเจ้า เพื่อสะดวกแก่การค้นคว้าหาข้อมูล แก่ผู้ใคร่จะศึกษา และนำไปเผยแผ่ธรรม

พระพุทธเจ้าพูด,ตรัส,ทรงพูดภาษาอะไร?
1
ภาษาบาลีเป็นภาษาของพระพุทธเจ้าจริงหรือไม่
ในสมัยพุทธกาลมีแคว้นใหญ่ ๒ แคว้นเป็นมหาอำนาจปกครองเมืองต่างๆ ทั่วชมพู
ทวีป แคว้นทั้งสองคือ แคว้นมคธ และแคว้นโกศล ประชาชนในแคว้นทั้งสองใช้ภาษามคธ
เป็นหลัก ซึ่งเรียกว่า มาคธภาสา หรือ มาคธิกภาสา แปลว่า ภาษาอันมีในแคว้นมคธ จะเห็น
ได้ว่า ในคัมภีร์อรรถกถากล่าวว่า ประชาชนในแคว้นมคธมักทักทายกันด้วยคำว่า กจฺจิ ขม
นียํ, กจฺจิ ยาปนียํ (สบายดีไหม) ส่วนประชาชนในแคว้นโกศลมักทักทายกันด้วยคำว่า กจฺจิ
โภ กุสลํ (ท่านผู้เจริญสบายดีไหม) จึงเรียกว่า แคว้นโกศล คือ แคว้นของคนที่ทักทายกันด้วย
คำว่า กุสลํ (ที.สี.อ. ๑/๒๕๔/๒๑๖)
เมื่อแคว้นทั้งสองแผ่แสนยานุภาพปกครองเมืองต่างๆ ทั่วชมพูทวีป จึงเป็นธรรมดาที่
ประชาชนในแคว้นเหล่านั้นต้องสื่อสารกันด้วยภาษากลาง ซึ่งก็คือภาษามคธ เหมือนภาษา
อังกฤษที่เป็นภาษากลางของชาวโลกในปัจจุบันนั่นเอง และพระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงธรรมด้วย
ภาษากลางอันเป็นภาษาที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันในสมัยนั้น
ด้วยเหตุนี้ จึงทราบว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมด้วยภาษามคธเพื่อให้ชาวอินเดีย
ในสมัยพุทธกาลสามารถเข้าใจภาษาที่ตรัสสอนได้ และภาษามคธที่ทรงใช้นั้นนั่นเองก็เรียก
อีกชื่อหนึ่งว่า ภาษาบาลี เพราะเป็นภาษาของพระพุทธพจน์ (ปาฬิยา ภาสา ปาฬิภาสา =
ภาษาของพระพุทธพจน์ ชื่อว่า ปาฬิภาสา) กล่าวคือ ในคัมภีร์อรรถกถาหลายฉบับได้กล่าวถึง
ปาฬิ หรือ ตนฺติ คือ พระบาลี หรือพระพุทธพจน์ ว่าหมายถึงพระไตรปิฎก ทำให้ต่อมาชื่อ
บาลีได้กลายเป็นชื่อของภาษาที่ใช้ในพระไตรปิฎก จึงเรียกว่าภาษาบาลี
คำว่า ปาฬิ มีรูปวิเคราะห์ (คำจำกัดความ) ๔ ประการในคัมภีร์ฎีกาและไวยากรณ์ คือ
๑. อตฺถํ ปาติ รกฺขตีติ ปาฬิ, ตนฺติ = สิ่งที่รักษาเนื้อความ ชื่อว่า ปาฬิ คือ พระพุทธ
พจน์ (ปา ธาตุ + ฬิ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ) <โมคคัลลานไวยากรณ์ ๗/๒๒๘>
๒. อตฺถํ ปาเลตีติ ปาฬิ, ลสฺส ฬตฺตํ = สิ่งที่รักษาเนื้อความ ชื่อว่า ปาฬิ แปลง ล
เป็น ฬ (ปาล ธาตุ + อิ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ) <สัททนีติปกรณ์ ธาตุมาลา น. ๔๕๒>
๓. โย นํ ปริยาปุณาติ, ตํ อาปายิกาทีหิ ทุกฺเขหิ ปาติ รกฺขตีติ ปาฬิ = สิ่งที่รักษาผู้
ปฏิบัติตามให้พ้นไปจากทุกข์ในอบายเป็นต้น ชื่อว่า ปาฬิ (ปา ธาตุ + ฬิ ปัจจัยในกัตตุสา
ธนะ) <มณิสารมญฺชูสาฏีกา ๑/๑๕๑-๕๒>
2
๔. ปกฏฺฐานํ อุตฺตมานํ สทฺทานํ อาฬิ ปาฬิ = ลำดับของกลุ่มคำอันยิ่งยวด ชื่อว่า
ปาฬิ (ป อุปสรรค + อาฬิ ศัพท์) <ม.มู.ฏีกา ๒/๓๓๓/๗๒๒, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๒๒/๓๐๙>
ตามข้อความที่กล่าวมาแล้วนี้ คำว่า ปาฬิ คือ พระพุทธพจน์ หรือพระไตรปิฎก หรือ
พระบาลี ไม่ใช่ภาษาบาลี ในคัมภีร์อรรถกถาทั้งหลายมักกล่าวถึงภาษาบาลีโดยใช้เป็นมาคธ
ภาษา คือ ภาษาของชาวมคธ หรือตันติภาษา คือ ภาษาของพระพุทธพจน์ การที่ท่านไม่ใช้
เป็นปาฬิภาษานั้นก็คงเป็นเพราะว่าต้องการแยกการใช้คำให้แตกต่างกัน โดย ปาฬิ ศัพท์
หมายถึง พระพุทธพจน์เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในสมัยของท่านพระธรรมบาลในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ท่านผู้แต่งใช้
เป็น ปาฬิภาสา (ภาษาบาลี) ในคัมภีร์ฎีกาของทีฆนิกาย (เล่ม ๑ หน้า ๑๙) และฎีกาของ
มัชฌิมนิกาย (เล่ม ๑ ข้อ ๘ หน้า ๒๑) ดังนั้น จึงถือว่าภาษามคธก็คือภาษาบาลีนั่นเอง
บางท่านอาจเห็นแย้งว่า ชื่อว่าปาฬิเป็นชื่อที่เกิดขึ้นในภายหลัง แล้วจะถือว่า
พระพุทธเจ้าตรัสภาษาบาลีได้อย่างไร ในที่นี้ขอชี้แจงว่า โดยทั่วไปชื่อของสิ่งต่างๆ เป็นสิ่งที่
เปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา แต่เนื้อแท้ของสิ่งเหล่านั้นยังคงอยู่ตามสภาพที่มีจริง เช่น
กรุงเทพมหานคร มีชื่อเดิมว่าบางกอกตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดพระนคร ต่อมารัฐบาลจอมพลถนอม กิตติ
ขจรได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และ
ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร ถ้าชื่อว่ากรุงเทพมหานครยังไม่มีในรัชสมัยของ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ก็คงไม่อาจกล่าวว่าพระองค์ได้ทรงสร้างเมืองนี้ขึ้นมาเป็นนครหลวง
ใหม่ของประเทศไทย ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า ประเทศสยาม และสนธิสัญญาต่างๆ ที่ทำไว้กับ
ต่างประเทศในขณะที่ใช้ชื่อว่าประเทศสยาม ก็คงไม่มีผลเมื่อเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยเมื่อวัน
ที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ แต่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะชื่อเรียกเป็นเพียงคำสื่อสาร
เพื่อความสะดวกเท่านั้น
ในสมัยพุทธกาลยังมีอีกภาษาหนึ่งที่คล้ายกับภาษามคธ มีชื่อว่า มาคธี เป็นภาษา
ของชาวบ้านทั่วไปที่ไม่ได้รับการศึกษา ไม่มีไวยากรณ์กำกับ ไม่มีแบบแผนอย่างถูกต้อง
ภาษามาคธีนี้เป็นภาษาถิ่นของชาวบ้าน เหมือนภาษาอีสาน ภาษาเหนือ และภาษาใต้นั่นเอง
ส่วนภาษามคธหรือภาษาบาลีเป็นภาษากลางที่คนทุกถิ่นทุกภาคเข้าใจกันได้ เหมือนภาษา
3
กลางในปัจจุบันที่คนไทยทุกภาคสามารถสื่อสารให้เข้าใจกันได้เป็นอย่างดี
จะเห็นได้ว่า ศัพท์บางคำในคำสอนของเจ้าลัทธิ ๖ คนในสมัยพุทธกาล คือ ปูรณกัสส
ปะ มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ นิครนถ์นาฏบุตร และสัญชัยเพลัฏฐบุตร
เป็นภาษามาคธีที่ไม่ถูกไวยากรณ์ เช่นคำว่า ทฺวาสฏฺฐิ ปฏิปทา (ปฏิปทา ๖๒) ถูกใช้เป็น
ทฺวฏฺฐิ ปฏิปทา หรือคำว่า สุขํ ทุกฺขํ ถูกใช้เป็นสัตตมีวิภัตติว่า สุเข ทุกฺเข เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
นักไวยากรณ์รุ่นหลังตั้งสูตรประกอบรูปศัพท์ของคำว่า ทฺวฏฺฐิ เป็นต้นเพื่อให้อนุชนเข้าใจความ
หมายได้อย่างถูกต้อง
ต่อมาภายหลังพุทธปรินิพพาน ภาษามาคธีเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายมากกว่าเดิม
เพราะแคว้นมคธและแคว้นโกศลไม่ได้มีอิทธิพลในอินเดียอีกต่อไป ทำให้ภาษามคธหรือ
ภาษาบาลีค่อยๆ สาบสูญไป ภาษามาคธีนี้ต่อมาวิวัฒนาการเป็นภาษาฮินดีในปัจจุบัน จะ
เห็นได้ว่า ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกที่พบทางเหนือและตะวันออกของราชอาณาจักรในสมัย
ของพระองค์ได้ใช้ภาษามาคธีเป็นหลัก ภาษามาคธีนี้นับอยู่ในภาษาปรากฤต คือ ภาษาที่
วิวัฒน์ขึ้นตามธรรมชาติโดยเป็นภาษาท้องถิ่นของชาวบ้าน แยกประเภทออกไปหลากหลาย
ประเภทตามท้องถิ่นนั้นๆ แต่ที่สำคัญมี ๔ ประเภท คือ
๑. มาคธี (Magadhi Prakrit) เป็นภาษาปรากฤตท้องถิ่นแคว้นมคธ ทางตะวันออก
เฉียงใต้ของชมพูทวีป
๒. อรรธมาคธี (Ardha Magadhi Prakrit) เป็นภาษาปรากฤตท้องถิ่นเหมือนมาคธี
ใช้บันทึกคำสอนของศาสนาเชนซึ่งเป็นศาสนาร่วมสมัยกับพระพุทธศาสนา
๓. เศารเสนี (Sauraseni Prakrit) เป็นภาษาปรากฤตท้องถิ่นแคว้นสุรเสนะหรือ
แคว้นมถุรา ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป
๔. มหาราษฏรี (Maharashatri Prakrit) เป็นภาษาปรากฤตท้องถิ่นแคว้นมหา
ราษฏร์ ค่อนไปทางทิศตะวันตกของชมพูทวีป
ภาษาปรากฤตเหล่านี้อุบัติขึ้นจากภาษาพระเวทในเวลาอันใกล้เคียงกับภาษา
สันสกฤต ที่จริงแล้ว ภาษาปรากฤตก็คือภาษาสันสกฤตแบบพระเวท (Vedic Sanskrit or Old
4
Indo - Aryan) ที่ได้วิวัฒน์พัฒนามาเป็นภาษาใหม่ มีชื่อเรียกรวมๆ ว่า ภาษาปรากฤต ทั้งนี้
เป็นไปตามกฎธรรมชาติ ดังนั้น พราหมณาจารย์ซึ่งเป็นผู้พิทักษ์รักษาและสืบทอดมรดกทาง
วัฒนธรรม ซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวทจึงเล็งเห็นว่าจะเกิดการสับสนและปะปนกันขึ้น
ระหว่างภาษาสันสกฤตแบบพระเวท และภาษาสันสกฤตที่ได้แปรรูปไปเป็นภาษาปรากฤต จึง
ได้จัดการวางรูปแบบของภาษาสันสกฤตแบบเดิมให้รัดกุม และเป็นแบบแผนมากยิ่งขึ้น ผลที่
ได้รับก็คือเกิดภาษาสันสกฤตแบบฉบับ (Classical Sanskrit) ขึ้น ซึ่งมีอายุสืบมาจนถึง
ปัจจุบัน
ภาษาปรากฤตนี้ตรงกันข้ามกับภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า “ภาษาที่ตกแต่งดีแล้ว”
งดงามมีหลักมีเกณฑ์ บาลีใช้เป็น สกฺกต หรือ สงฺขต อนึ่ง ในคำนำปทานุกรมพระไตรปิฎก
พม่า (เล่ม ๑ หน้า ๗) กล่าวว่า ภาษาปรากฤตแบ่งออกเป็น ๗ ประเภท คือ ภาษาปรากฤต
ล้วนๆ เศารเสนี มาคธี อรรธมาคธี ไปศาจี จูลิกาไปศาจี และอัปภรังศะ
ในคัมภีร์อรรถกถาและฎีกานิยมเรียกภาษามคธว่า มาคธภาสา หรือ มาคธิกภาสา
ไม่มีตำราเล่มไหนเรียกว่า มาคธีภาสา เพราะเกรงว่าจะไปสับสนกับภาษามาคธีอันคล้ายคลึง
กับภาษามคธ อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมบาลีรุ่นหลังพบรูปว่า มาคธี บ้าง ดังข้อความใน
ปทรูปสิทธิปกรณ์ว่า
สา มาคธี มูลภาสา นรา ยายาทิกปฺปิกา
พฺรหฺมาโน จสฺสุตาลาปา สมฺพุทฺธา จาปิ ภาสเร. (รูป. ๒/๖๐)
“ชนผู้เกิดในต้นกัป, พรหม, ชนผู้ไม่เคยฟังคำพูดของมนุษย์ และพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าย่อมกล่าวด้วยภาษาใด ภาษานั้นชื่อว่าภาษาดั้งเดิม อันเป็นภาษาของชาวมคธ”
คำว่า มาคธี ในบาทที่ ๑ แสดงความหมายว่า ภาษาของชาวมคธ โดยศัพท์อิตถีลิงค์
ในลักษณะนี้อาจลง อี อิตถีปัจจัยเป็นรูปว่า มาคธี หรือลง อา อิตถีปัจจัยเป็นรูปว่า มาคธา
ก็ได้เช่นเดียวกัน (มคธานํ เอสา มาคธี, มาคธา) ดังนั้น คำว่า มาคธี ในคาถานี้จึงมิได้หมาย
ถึงมาคธีภาษา แต่หมายถึงภาษาของชาวมคธ และอาจจะเป็นเพราะคำว่า มาคธี นี้ทำให้ผู้
5
อ่านบางท่านสับสนระหว่างภาษามาคธีกับภาษามคธ ท่านอาจารย์มหาวิสุทธารามจึงปรับ
เปลี่ยนบาทที่ ๑ ของคาถานี้เป็นรูปว่า สา มาคธา มูลภาสา พบในคัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะ
(สูตร ๕๒)
นอกจากนั้น คำนำภาษาบาลีของท่านพระสุมังคละผู้แต่งพาลาวตารฎีกาใหม่ (หน้า
ก-ข) ก็กล่าวถึงภาษาบาลีว่าเป็นมาคธีภาษา อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ภาษาบาลีแยกกับภาษา
มาคธี จึงควรเรียกว่า ภาษามคธ หรือภาษาบาลี ไม่ควรเรียกว่า ภาษามาคธี
สรุปความว่า พระพุทธเจ้า พระสาวก และชนชาวอินเดียในสมัยพุทธกาล พูดภาษา
มคธหรือภาษาบาลีเป็นภาษากลางของชนทุกท้องถิ่น จึงปรากฏพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี
ขึ้นเป็นอักษรต่างๆ ตามอักษรของประเทศนั้นๆ และภาษามคธก็ไม่ใช่ภาษามาคธีซึ่งนับเข้า
ในภาษาปรากฤต ดังนั้น จึงได้ข้อสรุปว่า
๑. ความเห็นว่า พระพุทธเจ้าและชาวอินเดียในสมัยพุทธกาล ไม่ได้พูดภาษาบาลี
เพราะคำว่า ปาฬิ พบในคัมภีร์อรรถกถา ไม่พบในพระไตรปิฎกนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะชื่อเรียก
เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย
๒. ความเห็นว่า พระพุทธเจ้าและชาวอินเดียในสมัยพุทธกาล ไม่ได้พูดภาษาบาลี
เพราะภาษาบาลีไม่เหมือนกับภาษาในศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก ไม่ถูกต้อง เพราะภาษาใน
สมัยพระเจ้าอโศกได้เปลี่ยนไปใช้ภาษามาคธีแทนภาษามคธแล้ว
๓. ความเห็นว่า ภาษาบาลีเกิดขึ้นจากการนำภาษาต่างๆ มาประยุกต์ให้เป็นภาษา
กลาง ไม่ถูกต้อง เพราะภาษากลางต้องเป็นภาษาของประเทศมหาอำนาจเหมือนแคว้นมคธ
และแคว้นโกศล ข้อนี้เปรียบได้กับภาษาอังกฤษของประเทศมหาอำนาจฝั่งตะวันตกนั่นเอง อีก
ทั้งไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นว่า ใครเป็นผู้นำภาษาต่างๆ มาประยุกต์ให้เป็น
ภาษาบาลีในสมัยไหน
๔. ความเห็นว่า ภาษาบาลีเป็นภาษาทางวรรณคดี ไม่ใช่ภาษาพูด ไม่ถูกต้อง
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นชาวอินเดียในสมัยพุทธกาลจะสื่อสารด้วยภาษาอะไร จะเห็นได้ว่า ผู้ที่
6
กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงใช้ภาษาบาลี ก็ไม่ได้ระบุว่าทรงใช้ภาษาอะไรในการสื่อสาร
และไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนในการกล่าวเช่นนั้น เพราะหลักฐานที่ชัดเจนก็คือพระไตรปิฎก
ภาษาบาลีเท่านั้น อีกทั้งมีปราชญ์ตะวันตกผู้เชี่ยวชาญภาษาบาลีหลายท่านยอมรับว่าพระ
ไตรปิฎกฉบับบาลีของนิกายเถรวาทเป็นคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า
พระคันธสาราภิวงศ์
โครงการเตปิฏกสังวัณณนาวิจัย
๘ พ.ค. ๒๕๖๓